เมื่อคุณเสถียร ตามรภาค ขณะทำงานอยู่กับบริษัทแองโกลไทยนั้น ได้รู้จักกับนาย อาร์. ฮอรี่ ซึ่งเป็นผู้แทนบริษัทผลิตตู้นิรภัย Chubb จากประเทศอังกฤษ ซึ่งเข้ามาหาตัวแทนจำหน่ายในขณะนั้นแต่ไม่มีผู้ใดบริษัทใดสนใจ โดยนายฮอรี่ได้ขอให้ลองช่วยพยายามจำหน่ายเพราะเชื่อว่าต่อไปจะมีผู้คนนิยมใช้ตู้นิรภัยกันมากขึ้น เนื่องจากบ้านเมืองจะเจริญขึ้น คุณเสถียร ตามรภาค เห็นว่านายฮอรี่ขอร้องมาหลายครั้งแล้ว จึงเห็นว่า เมื่อไม่มีใครรับทำก็ยินดีจะช่วยทำ แต่เมื่อถึงสิ้นปีขายได้เท่าไรก็เท่านั้น อย่าบังคับว่าจะต้องขายได้ปีละกี่ร้อยกี่พันปอนด์ก็แล้วกัน นายฮอรี่บอกว่า เขาเองรู้และเข้าใจถึงความลำบากในการบุกเบิกทางครั้งแรกๆแต่เชื่อว่าคุณเสถียรจะะยินดีและพอใจในบั้นปลาย ต่อมาคุณเสถียรจึงได้ดำเนินการขายตู้นิรภัยร่วมกับเครื่องใช้สำนักงานอื่นๆควบคู่กันไป ณ. ตึกนายเลิศ ถนนสี่พระยา โดยจะมีการนำแคตตาลอค ตู้นิรภัย Chubb ไปแจกจ่ายให้กับลูกค้า
ต่อมาทางธนาคารออมสิน มีความต้องการใช้งานตู้นิรภัยประมาณ 10 กว่าตู้ คุณเสถียรจึงได้มีโอกาสเสนอราคากับทางธนาคารฯ โดยได้อธิบายกับคณะกรรมการจัดซื้อว่าคุณภาพของตู้นั้นเป้นตู้ที่ธนาคารชาติอังกฤษใช้เป็นประจำ, บานประตูหนามีเหล้กกันเจาะ, น้ำหนักมากกว่า มีคุณภาพสูงแม้ราคาจะแพงกว่ายี่ห้ออื่น จากการอธิบายทำให้ทางธนาคารออมสินสนใจและตัดสินใจซื้อไปใช้งานเป็นตัวอย่างจำนวน 1 ตู้ หากดีจริงก็จะซื้อกันต่อไป (ยังมีต่อครับ)
Catalog บานประตู Chubb England ซึ่งสามารถดูบานจริงได้ที่ กรมศุลกากร ครับ
คุณ เสถียร ตามรภาค (ยืนที่ 2จากซ้าย) ขณะเปิดตู้นิรภัย Chubb ที่สาขาธนาคารออมสินที่ถูกไฟไหม้ แต่ธนบัตรภายในตู้ไม่เสียหาย
คุณ เสถียร ตามรภาค (ยืนซ้ายสุด) กับงานจำหน่ายบานประตูห้องมั่นคง Chubb ที่ กรมศุลกากร